พระราชกรณียกิจทางศิลปะและวัฒนธรรม ของ จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี

จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีขณะเสด็จเยี่ยมนักแสดงในเทศกาลศิลปะชีราซจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีขณะทรงงานในกรุงเตหะราน ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970

ในช่วงต้นรัชกาล องค์จักรพรรดินีทรงสนพระราชหฤทัยและมีบทบาทส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในอิหร่าน โดยผ่านพระราชินูปถัมภ์ของพระองค์ หลายองค์กรถูกจัดตั้งขึ้นและส่งเสริมเพื่อทำตามพระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะทรงนำสิลปวัฒนธรรมอิหร่านร่วมสมัยและทรงให้ความสำคัญทั้งในอิหร่านและโลกตะวันตก

นอกเหนือไปจากความพยายามของพระองค์เอง องค์จักรพรรดินีทรงพยายามที่จะหาทางบรรลุเป้าหมายด้วยความช่วยเหลือต่างๆของมูลนิธิและที่ปรึกษา กระทรวงของพระองค์สนับสนุนการแสดงออกทางศิลปะในหลายๆรูปแบบ รวมทั้งศิลปะแบบดั้งเดิมของอิหร่าน(เช่น การทอผ้า, การร้องเพลงและการขับขานบทกวี)เช่นเดียวกับการละครแบบตะวันตก พระองค์ทรงได้รับการยอมรับมากที่สุดในการที่ทรงอุปถัมภ์ศิลปะการแสดงในเทศกาลศิลปะชีราซ เหตุการณ์นี้มีความขัดแย้งในบางครั้งโดยเทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ค.ศ. 1967 จนถึงค.ศ. 1977 และให้ความสำคัญกับการแสดงสดโดยทั้งจากศิลปินอิหร่านและตะวันตก[15]

อย่างไรก็ตามในเวลาส่วนใหญ่ของพระองค์ ทรงมักเสด็จพระราชดำเนินไปในการสร้างพิพิธภัณฑ์และอาคารเก็บวัตถุสะสมต่างๆ

ศิลปะโบราณ

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีและจักรพรรดินีฟาราห์ พระมเหสี โบกพระหัตถ์อำลาก่อนที่จะเสด็จขึ้นเครื่องบิน ในคราวเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา

ประเทศที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอย่างอิหร่านในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ได้แสดงออกมาเพียงเล็กน้อย สมบัติที่ยิ่งใหญ่ทางศิลปะมากมายในช่วง 2,500 ปี ได้ตกไปอยู่ในมือของพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศและของสะสมส่วนตัว มันจะกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักที่องค์จักรพรรดินีที่จะทรงจัดหาสถานที่เก็บสะสมในอิหร่านที่เหมาะสมสำหรับวัตถุทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวเอง ในที่สุด พระองค์ทรงได้รับการสนับสนุนด้วยการอนุญาตจากรัฐบาลของพระสวามีและเงินทุนในการ "ซื้อกลับ" วัตถุสะสมอิหร่านทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ การทำเช่นนี้ประสบความสำเร็จด้วยการช่วยเหลือของสองพี่น้อง ฮุชางและเมะห์ดี มะห์บูเบียน เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายวัตถุโบราณอิหร่านที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ซึ่งเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์จักพรรดินีตั้งแต่ค.ศ. 1972 ถึงค.ศ. 1978[16] ด้วยวัตถุเหล่านี้พระองค์ทรงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหลายแห่ง (หลายๆแห่งยังคงดำรงอยู่จนทุกวันนี้) และเป็นจุดเริ่มต้นขององค์การอนุรักษ์แห่งชาติในอิหร่าน[17]

พิพิธภัณฑ์และศูนย์วัฒนธรรมได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้พระราชเสาวนีย์ของพระองค์รวมถึง ศูนย์วัฒนธรรมเนกาเรสถาน, พิพิธภัณฑ์เรซาอับบาซี, พิพิธภัณฑ์คอร์รามาบัดด้วยการเก็บวัตถุมีค่าอย่างทองสัมฤทธิ์ทองแดงลอเรสทาน, พิพิธภัณฑ์พรมอิหร่านและพิพิธภัณฑ์อับกีเนห์สำหรับเครื่องเซรามิกและเครื่องแก้ว[18]

ศิลปะร่วมสมัย

จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในคราวเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1968

นอกเหนือจากการสร้างการสะสมโบราณวัตถุอิหร่าน องค์จักรพรรดินียังทรงสนพระทัยในการแสวงหาศิลปะตะวันตกและอิหร่านร่วมสมัย ด้วยเหตุนี้ พระนางทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญเบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเตหะราน ผลจากการประกอบพระราชกรณียกิจของพระนางในการสร้างและขยายสถาบันที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานขององค์จักรพรรดินีที่ทรงตกทอดไว้ให้กับประชาชนชาวอิหร่าน

ด้วยการที่ทรงใช้เงินที่จัดสรรโดยรัฐบาล องค์จักรพรรดินีทรงใช้ประโยชน์จากตลาดศิลปะในคริสต์ศตวรรษที่ 1970 เพื่อซื้อผลงานที่สำคัญในศิลปะตะวันตก ภายใต้พระราชเสาวนีย์ของพระนาง พิพิธภัณฑ์ได้รับผลงานเกือบ 150 ชิ้นโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงเช่น ปาโบล ปีกัสโซ, โกลด มอแน, จอร์จ กรอซ, แอนดี้ วอร์ฮอล, แจ๊คสัน พอลล็อกและรอย ลิกเตนสไตน์ ทุกวันนี้ผลงานสะสมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเตหะรานเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่รวบรวมศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ 20 ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากจะเป็นที่ที่สำคัญที่สุดนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกา มันได้กลายเป็นที่โดดเด่นมาก ตามที่ปาร์วิซ ตานาโวลี ประติมากรสมัยใหม่ชาวอิหร่านและอดีตที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมขององค์จักรพรรดินี ได้กล่าวถึงผลงานสะสมที่น่าประทับใจซึ่งได้ถูกรวบรวมเป็นมูลค่า "หลายสิบ ไม่สิหลายร้อยล้านดอลลาร์"[17] ทุกวันนี้มูลค่าของทรัพย์สินเหล่านี้อยู่ที่ประมาณเกือบ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[19]

ของสะสมเหล่านี้เป็นปัญหาที่ยากจะหาทางออกสำหรับกลุ่มต่อต้านตะวันตกของสาธารณรัฐอิสลามที่ซึ่งยึดพระราชอำนาจหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ปาห์ลาวีในปีค.ศ. 1979 แม้ว่าในทางการเมืองรัฐบาลสายนิยมความเชื่อดั้งเดิมทางศาสนาจะปฏิเสธอิทธิพลของตะวันตกในอิหร่าน แต่ผลงานสะสมที่รวบรวมโดยองค์จักรพรรดินียังคงถูกเก็บรักษาไว้ อาจเป็นเพราะว่ามีมูลค่าที่มากมายมหาศาล มันยังคงไม่มีการปรากฏต่อสาธารณชนและอยู่ในห้องเก็บของใต้ดินของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเตหะรานมาเกือบสองทศวรรษ สิ่งนี้ทำให้เกิดการพิจารณาอย่างมากถึงชะตากรรมของงานศิลปะที่ซึ่งนำเฉพาะส่วนหนึ่งหลังจากผลงานสะสมส่วนใหญ่ได้ถูกเห็นอีกครั้งในเวลาสั้นๆที่กรุงเตหะรานครั้งล่าสุดในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2005[19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี http://www.parlament.gv.at/PAKT/VHG/XXIV/AB/AB_105... http://irancollection.alborzi.com/ http://orderofsplendor.blogspot.com/2012/02/weddin... http://abcnews.go.com/International/story?id=44069... http://books.google.com/books?id=ZlptU4A2HkUC&prin... http://books.google.com/books?id=pTVSPmyvtkAC&pg=P... http://www.nationalreview.com/articles/210633/shah... http://www.nytimes.com/2004/05/02/books/the-last-e... http://www.payvand.com/news/05/oct/1085.html http://www.payvand.com/news/07/mar/1060.html